คู่มือประชาชน เรื่องการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่

งานที่ให้บริการ  การจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่  หน่วยงานที่รับผิดชอบ    กองคลัง

 ขอบเขตการให้บริการ
สถานที่ / ช่องทางการให้บริการระยะเวลาเปิดให้บริการ

กองคลัง                    วันจันทร์ ถึง วันศุกร์
โทรศัพท์: ๐๔๒-๐๙๙ ๗๑๙  (ยกเว้นวันหยุดที่ทางราชการกำหนด)
ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐-๑๒.๐๐ น. และ ๑๓.๐๐ – ๑๖.๓๐ น.

 

หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นคำขอ

ภาษีบำรุงท้องที่ หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากเจ้าของที่ดิน ตามราคาปานกลางที่ดินและตามบัญชีอัตราภาษีบำรุงท้องที่ ที่ดินที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ ได้แก่ ที่ดินที่เป็นของบุคคลหรือคณะบุคคล ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือสิทธิครอบครองอยู่ในที่ดินที่ไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน ที่ดินที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ ได้แก่ พื้นที่ดิน และพื้นที่ที่เป็นภูเขาหรือที่มีน้ำด้วย โดยไม่เป็นที่ดินที่เจ้าของที่ดินได้รับการยกเว้นภาษีหรืออยู่ในเกณฑ์ลดหย่อน

 

ขั้นตอนและระยะการให้บริการ

ขั้นตอน                    หน่วยงานผู้รับผิดชอบ

๑. ยื่นเอกสาร             ๑. งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้  กองคลัง        (ระยะเวลา ๑ นาที)
๒. ตรวจสอบเอกสาร      ๒. งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้  กองคลัง      (ระยะเวลา ๒ นาที)
๓. ออกใบเสร็จ            ๓. งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้  กองคลัง      (ระยะเวลา ๒ นาที)

 

ระยะเวลา

ใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น ไม่เกิน ๕ นาที

รายการเอกสารหลักฐานประกอบ

กรณีชำระปกติ

๑. ใบเสร็จรับเงินของปีที่ผ่านมา      จำนวน ๑ ฉบับ

กรณีการประเมินใหม่

๑. สำเนาทะเบียนบ้าน                    จำนวน ๑ ฉบับ
๒. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน  จำนวน ๑ ฉบับ
๓. สำเนาเอกสารสิทธิ์                    จำนวน ๑ ฉบับ
๔. สำเนาหนังสือการเปลี่ยนแปลงเจ้าของที่ดิน   จำนวน ๑ ฉบับ

กรณีเปลี่ยนแปลงเจ้าของที่ดิน

๑. สำเนาใบเสร็จรับเงินของปีที่ผ่านมา               จำนวน ๑ ฉบับ
๒. สำเนาเอกสารสิทธิ์ที่ดิน                                จำนวน ๑ ฉบับ
๓. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน                      จำนวน ๑ ฉบับ
๔. สำเนาเอกสารสิทธิ์ที่ดิน                                 จำนวน ๑ ฉบับ

 

ค่าธรรมเนียม

อัตราภาษี

๑. อัตราภาษีบำรุงท้องที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติ แบ่งเป็น ๓๔ อัตรา
๒. ราคาปานกลางที่ดินเกินไร่ละ ๓๐,๐๐๐ บาทให้เสียภาษีดังนี้ราคาปานกลางของที่ดิน ๓๐,๐๐๐ บาทแรก เสียภาษี ๗๐ บาท
๓. ส่วนที่เกิน ๓๐,๐๐๐ บาท เสียภาษี ๑๐,๐๐๐ บาท ต่อ ๒๕ บาท
๔. ประกอบกสิกรรม ประเภทไม้ล้มลุก

– เสียกึ่งอัตรา
– ด้วยตนเอง ไม่เกินไร่ละ ๕ บาท
– ที่ดินว่างเปล่า เสียเพิ่ม ๑ เท่า

 

การรับเรื่องร้องเรียน

ถ้าการให้บริการไม่เป็นไปตามข้อตกลงที่ระบุไว้ข้างต้นสามารถติดต่อเพื่อร้องเรียนได้ที่

โทรศัพท์ : ๐๔๒-๐๙๙ ๗๑๙